วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

หน่วยวัดความจุในคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ใช้ในการวัดความจุหรือขนาดของข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้

บิต (Bit) เป็นหน่วยวัดข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยแต่ละบิตจะถูกแสดงด้วยตัวเลขฐานสองคือ “0″ หรือ “1″
ไบต์ (Byte) 1 ไบต์จะมีขนาด 8 บิต ใช้แทนตัวอักษรใดๆ เช่น ตัวเลข, พยัญชนะ หรือสัญลักษณ์ต่างๆได้ 1 ตัว

1 ไบต์(B) = 8 บิต(b)= 8 บิต
1 กิโลไบต์(KB) = 1024 ไบต์(B) = 1024 ไบต์
1 เมกะไบต์(MB) = 1024 กิโลไบต์(KB) = 1024x1024 ไบต์
1 กิกะไบต์(GB) = 1024 เมกะไบต์(MB) = 1024x1024x1024 ไบต์
1 เทระไบต์(TB) = 1024 กิกะไบต์(GB)= 1024x1024x1024x1024 ไบต์
1 เพตะไบต์(PB) = 1024 เทระไบต์(TB) = 1024x1024x1024x1024x1024 ไบต์
1 เอกซะไบต์(EB) = 1024 เพตะไบต์(PB) = 1024x1024x1024x1024x1024x1024 ไบต์
1 เซตตะไบต์(ZB) = 1024 เอกซะไบต์(EB) = 1024x1024x1024x1024x1024x1024x1024 ไบต์

หมายเหตุ: หน่วยเมตริกใช้คำอุปสรรคฐานสิบ ส่วนหน่วยไบต์จะใช้คำอุปสรรคฐานสอง
เช่น กิโลในหน่วยเมตริกเท่ากับ 1000 (103) ส่วนกิโลในหน่วยไบต์เท่ากับ 1024 (210)

ชื่อ สัญลักษณ์ อุปสรรคฐานสิบ อุปสรรคฐานสอง
กิโล K 103 210
เมกะ M 106 220
จิกะ G 109 230
เทระ T 1012 240
เพตะ P 1015 250
เอกซะ E 1018 260

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

prefix หรือคำอุปสรรค

Metric Prefix หรือคำอุปสรรคนำหน้าหน่วยเมตริก เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม เซ็นติเมตร มิลลิลิตร โดยคำอุปสรรคแต่ละตัวมีวิธีคำนวณดังตาราง

    คำอุปสรรค     สัญลักษณ์  ตัวคูณตัวคูณในรูปเลขยกกำลัง
exa (เอกซะ)E 1,000,000,000,000,000,000 1018
peta (เพตะ)P 1,000,000,000,000,000 1015
tera (เทระ)T 1,000,000,000,000 1012
giga (จิกะ)G 1,000,000,000 109
mega (เมกะ)M 1,000,000 106
kilo (กิโล)k 1,000 103
hecto (เฮกโต)h 100 102
deca (เดคา)da 10 101
1 100
deci (เดซิ)d 0.1 10¯1
centi (เซ็นติ)c 0.01 10¯2
milli (มิลลิ)m 0.001 10¯3
micro (ไมโคร)µ 0.000001 10¯6
nano (นาโน) n 0.000000001 10¯9
pico (พิโก)p 0.000000000001 10¯12
femto (เฟมโต)f 0.000000000000001 10¯15
atto (อัตโต)a 0.000000000000000001 10¯18

ตัวอย่างการคำนวณที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
หน่วยเมตร
1 เมตร (1m)
1,000 เมตร  = 1 กิโลเมตร (1km)
0.01 เมตร = 1 เซ็นติเมตร (1cm)

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ระบบปฏิบัติการ (OS)

ระบบปฏิบัติการ(Operating System) หรือ โอเอส(OS) คือ โปรแกรม(Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมและจัดสรรการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์(Hardware)และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ(Applications) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง รายชื่อระบบปฏิบัติการ เช่น ดอส, ลินุกซ์, วินโดวส์, แม็กโอเอส เป็นต้น




กรณีระบบปฎิบัติการในมือถือสมาร์ทโฟน เช่น แอนดรอยด์(android), ไอโอเอส(iOS) จะเรียกกันว่าเฟิร์มแวร์(Firmware)


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์

ฮาร์ดแวร์ & ซอฟต์แวร์ (Hardware & Software)

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ (สามารถจับต้องได้) ได้แก่ ซีพียู, เมนบอร์ด, แรม, ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น



ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ (ไม่สามารถจับต้องได้) ได้แก่ Microsoft Windows, Microsoft Office, google chrome, firefox, internet explorer เป็นต้น


วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

รู้จักกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

มาดูกันว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนึงนั้นมีอุปกรณ์อะไรกันบ้าง

1. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆ เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์



2. หน่วยความจำ หรือ แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งขณะใช้งานคอมพิวเตอร์



3. เมนบอร์ด (MAINBOARD) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  ได้แก่ ซีพียู แรม การ์ดแสดงผล ฮาร์ดดิส ฯลฯ จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเมนบอร์ด


4. การ์ดแสดงผล (GRAPHIC CARD) หรือที่มักจะเรียกกันว่าการ์ดจอ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและส่งข้อมูลภาพมาที่จอแสดงผล


5. เพาเวอร์ซัพพลาย (POWER SUPPLY UNIT) หรือเรียกสั้นๆว่า PSU ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ


6. เคส (CASE) คือกล่องที่ไว้สำหรับเก็บอุปกรณ์ต่างๆไว้ภายในให้ดูเรียบร้อยสวยงาม



7. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลายหลายชนิด ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเฉพาะอุปกรณ์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

    7.1 ฮาร์ดดิส (HARDDISK)


    7.2 SSD (SOLID STATE DRIVE)


8. อุปกรณ์รับข้อมูล ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งไปประมวลผล

    8.1 คีย์บอร์ด (KEYBOARD)



    8.2 เมาส์ (MOUSE)


9. อุปกรณ์แสดงผล ทำหน้าที่แสดงผล

    9.1 มอนิเตอร์ (MONITOR)